วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เส้นทางสู่อาชีพที่ใฝ่ฝัน:แม่พิมพ์ที่ดีของชาติ



   ข้าพเจ้าไม่ใฝ่ฝันที่จะเป็นเพียงเรือจ้างที่รับเฉพาะนักเรียน แต่จะรับทุกคนที่กำลัง จะจมน้ำ
       ใครต่อใครต่างก็นิยามคำว่า "ครู"แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับฉัน ครู คือ ผู้เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความดีให้งอกงาม

      ครูไม่จำเป็นต้องรอเวลาให้ตนเองแก่เพื่อให้ลูกศิษย์เรียกว่า พ่อครูหรือแม่ครู แต่การกระทำของครูจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าครูเป็นทั้งครู พ่อแม่และเพื่อนในทุกขณะจิต




ระบบการผลิตครูนั้น ได้มีการปรับหลักสูตรที่ใช้ในการผลิตครูที่เป็นผู้สอนในระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเริ่มใช้หลักสูตร 5 ปี ครั้งแรก ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชา
ด้าน ศึกษาศาสตร์ หรือ ครุศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (การศึกษาบัณฑิต:กศ.บ.)
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ครุศาสตรบัณฑิต:ค.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ (การศึกษาบัณฑิต:กศ.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (การศึกษาบัณฑิต:กศ.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (การศึกษาบัณฑิต:กศ.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (การศึกษาบัณฑิต:กศ.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ศึกษาศาสตรบัณฑิต:ศษ.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศึกษาศาสตรบัณฑิต:ศษ.บ., วิทยาศาสตร์บัณฑิต:วท.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตรบัณฑิต:ศษ.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ศึกษาศาตรบัณฑิต :ศษ.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศึกษาศาสตรบัณฑิต:ศษ.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ศึกษาศาสตรบัณฑิต:ศษ.บ.)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ศึกษาศาสตรบัณฑิต:ศษ.บ.)
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (ครุศาสตรบัณฑิต:ค.บ.)



ครูถือเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ระบบการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต หากประเทศใดที่มี ครูที่มีคุณภาพ ย่อมเป็นเครื่องการันตีได้ถึงแนวโน้มในการมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
อาชีพครู คือ อาชีพที่ ถ่ายทอดความรู้ ด้วยวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพครู
1.  ผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป (คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์)
2.  มีใบประกอบวิชาชีพครู
3.  มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง ตามวิชาที่ตนถนัด
4.  มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5.  รักเด็ก มีจิตใจโอบอ้อมอารี
6.  ศรัทธาต่อวิชาชีพครู
7.  รักการแสวงหาความรู้
8.  ชอบการสอน
9.  อื่นๆ
นอกเหนือจากนี้คือคุณสมบัติของครูที่มีความสามารถเฉพาะด้านโดยไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้
1)  มีความรู้ ความชำนาญและเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
2)  เป็นผู้มากประสบการณ์ และต้องการถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รู้และทราบ
3)  เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้ผู้อื่นด้วยวิธีการต่าง ๆ
4)  อื่น ๆ
ขอบข่ายงานของอาชีพครู
1.  การจัดการสอน/การจัดการเรียนรู้
2.  เป็นที่ปรึกษาให้ผู้เรียน
3.  ดูแลผู้เรียนทุกคนที่อยู่ในโรงเรียน
4.  แสวงหาวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ
5.  หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานและสถานศึกษา
แนวทางการพัฒนาอาชีพครู
1.  ครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
1.1  ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
1.2  ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
1.3  ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
2.  ครูเอกชน
3.  ครูอัตราจ้าง
4.  ครูพี่เลี้ยงเด็ก
5.  ผู้อำนวยการโรงเรียน
6.  เจ้าของกิจการสถานศึกษาเอกชน
7.  เจ้าของกิจการโรงเรียนกวดวิชา
8.  เปิดสอนพิเศษ
9.  ผู้ทรงคุณวุฒิ
10.  นักวิชาการ
11.  นักการศึกษา
12.  อื่น ๆ
แหล่งความรู้เพิ่มเติม
1. ห้องสมุด
2. ห้องแนะแนวตามโรงเรียนต่าง ๆ
3. ครูแนะแนว
4. เว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เปิดสอนหลักสูตร คณะศึกษาศาสตร์/คณะครุศาสตร์
5. อื่นๆ
   มีบทดอกสร้อยบทหนึ่ง กล่าวถึงครูดีไว้ช่วยให้จดจำได้ง่ายว่า ดังนี้
                                 ครูเอ๋ยครูดี                  จำต้องมีหลักสี่สถาน
             หนึ่ง ความรู้เก่งหล้าวิชาการ      สอง เชี่ยวชาญการปกครอบต้องใจคน
สาม ชำนาญการอบรมสั่งสอนศิษย์                      รู้จักคิดหาอุบายให้ได้ผล
สี่ ประพฤติชอบและอดทน                                   ใครได้ผลชื่นชมนิยมเอย
ครูจะต้องเป็นผู้ให้หรือผู้เสียสละ ดังที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ท่านเรียกว่า เป็นการเปิดประตูวิญญาณถือว่าเป็นหน้าที่สูงสุดของมนุษย์ใครทำได้ คนนั้นถือว่าเป็นครู ครูจึงต้องพระเมตตาและปัญญา ปัญญาและเมตตา คือความรู้ที่เพียงพอสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของครูแล้วก็เมตตาที่เพียงพอสำหรับอดกลั้น อดทน ในเมื่อมันมีสิ่งชนิดนั้นเกิดขึ้น แล้วก็อยู่ด้วยความพอใจว่า เรามีโชคดีที่ได้มาทำหน้าที่ครู หรือแม้มีอาชีพครู ซึ่งมีกุศล มีการบำเพ็ญการกุศล หรือได้บุญอยู่ในอาชีพนั้น
“…ให้ถือว่าครูมีหน้าที่พัฒนามนุษย์ แล้วพัฒนามนุษย์นั้นมุ่งหมายให้ถึงที่สุดอย่าหยุดเสียครึ่งๆ กลางๆ ให้เต็มไปด้วยความเป็นมนุษย์แล้วเราก็มีสิทธิที่จะพอใจในความเป็นปูชนียบุคคลของตนเอง…”
                                                         ขอบคุณข้อมูลจากhttp://career.newnaew.net/c2/6-career-teacher.html